วันพฤหัสบดีที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบเคมี เรื่องอิเล็กโทรไลต์

1. พลังงานไอออไนเซชัน 6 ลำดับของคาร์บอนมีค่าดังนี้
1.093, 2.359, 4.627, 6.229, 37.838 และ 47.285 เมกาจูลต่อโมล
ผลต่างของพลังงานไอออไนเซชันระหว่างระดับพลังงานที่ 1 กับระดับพลังงานที่ 2
เป็นกี่เมกาจูลต่อโมล
1. 1.266
2. 9.447
3. 31.609
4. 46.192

2. ถ้า IE (Li) และ IE (Be) เป็นพลังงานไอออไนเซชันของลิเทียมและเบริลเลียม
ตามลำดับ และกำหนดให้ IE1 (Li) = 0.526 IE2 (Li) = 7.305 IE3 (Li) = 11.822
IE1(Be) = 0.906 IE2(Be) = 1.763 IE3 (Be) = 14.855 MJ/mol
ข้อมูลทั้งหมดนี้สอดคล้องกับข้อความในข้อใด
1. อะตอมของลิเทียมมีขนาดใหญ่กว่าอะตอมของเบริลเลียม
2. ลิเทียมมี 1 เวเลนซ์อิเล็กตรอน เบริลเลียมมี 2 เวเลนซ์อิเล็กตรอน
3. ลิเทียมมีอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ต่ำกว่าเบริลเลียม
4. ทั้งลิเทียมและเบริลเลียมเป็นโลหะ

3. ธาตุ Q, R, T,U มีค่าพลังงานไอออไนเซชันลำดับต่างๆ ดังแสดง
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!
เมื่อเกิดสารประกอบซัลเฟต สูตรในข้อใด ถูกต้อง
1. Q(SO4)2,R2SO4
2. RSO4, TSO4
3. T2SO4, U2SO4
4. QSO4, R2SO4

4.ธาตุ A, B, C และ D มีเลขอะตอม 3, 9, 13 และ 20 ตามลำดับ ธาตุใดมีค่า IE2 ต่ำที่สุด
1. A
2. B
3. C
4. D

5. ค่าอิเล็กโทรเนกาติวิตี้ จะบอกให้ทราบถึงสมบัติของธาตุ
1. ความแข็งแรงของพันธะระหว่างอะตอม
2. ความสามารถในการดึงดูดอิเล็กตรอนของธาตุ
3. ความสามารถในการดึงดูดไฮโดรเจนของธาตุ
4. ความสามารถในการกลายเป็นไอออนบวก

6. พลังงานไอออไนเซชันลำดับที่ 1 ของธาตุในข้อใดเพิ่มขึ้นตามลำดับ
1. Ca, Mg, Be
2. Li, Na, K
3. F, Ne, Na
4. N, C, B

7.ไอออนหรืออะตอมในข้อใดที่มีการจัดอิเล็กตรอนเหมือนกับคลอไรด์ไอออน
1. F-
2. Ne
3. Al3+
4. Ca2+

8. ไอโซโทปหมายถึงอะไร
1 . ธาตุชนิดเดียวกันและมีเลขมวลเท่ากัน
2 . ธาตุชนิดเดียวกันมีเลขมวลต่างกัน
3 . ธาตุต่างชนิดกันมีเลขมวลเท่ากัน
4 . ธาตุต่างชนิดกันมีเลขมวลต่างกัน

9.สารประกอบคลอไรด์ใดเมื่อละลายน้ำแล้วมีสมบัติเป็นกลาง
1 . scl2
2 . Alcl3
3 . Mgcl2
4 . Sicl4

10. ธาตุใดเมื่ออยู่ใกล้เหล็กจะทำให้ผุกร่อนเร็วขึ้นมากที่สุด
1 .สังกะสี
2 .ดีบุก
3 .แมกนีเซียม
4 .ทองแดง

Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!

เฉลย
1.ข้อ3
2.ข้อ2
3.ข้อ1
4.ข้อ4
5.ข้อ2
6.ข้อ1
7.ข้อ4
8.ข้อ2
9.ข้อ2
10.ข้อ4

วันจันทร์ที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2553

ข้อสอบเคมีเรื่อง ธาตุในสารประกอบอุตสาหกรรม

ข้อ1 ผลพลอยได้จากการผลิตสารในข้อ ก และ ข ต่อไปนี้ สามารถทำให้เกิดอุตสาหกรรมการผลิตอะไรได้บ้าง
ก. ผงชูรสจากแป้งมันสำปะหลัง
ข. ก๊าซคลอรีนจากเกลือสมุทร
1. ปุ๋ยและผงซักฟอก
2. กรดอะมิโนและก๊าซไฮโดรเจน
3. น้ำตาลกลูโคสและกรดไฮโดรคลอริก
4. แอโมเนียมกลูตาเมตและโซเดียมไฮดรอกไซด์

ข้อ2 แร่รัตนชาติใดมีความแข็งมากที่สุด
1. มรกต
2. โกเมน
3. ไพลิน
4. เพทาย

คำชี้แจง ข้อมูลต่อไปนี้ใช้ประกอบการตอบคำถาม ข้อ 3-4
การผลิตโซดาไฟ (NaOH) ในทางอุตสาหกรรม นิยมใช้วิธีแยกสารละลายโซเดียมคลอไรด์ด้วยกระแสไฟฟ้าโดยใช้ปรอท
เป็นแคโทดของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ ซึ่งเขียนรูปแสดงส่วนประกอบที่ สำคัญได้ดังนี้
Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!

ข้อ3 ต่อไปนี้เป็นเหตุผลของการเลือกใช้ปรอท (ซึ่งเป็นสารที่มีพิษมาก)
เป็นอิเล็กโทรดของเซลล์อิเล็กโทรไลต์ในการเตรียมโซดาไฟ (NaOH) ทั้งสิ้น ยกเว้น
1. ปรอทช่วยป้องกันมิให้แก๊สคลอรีนที่เกิดขึ้น ทำปฏิกิริยากับผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
2. ปรอทสามารถรวมกับผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นที่แคโทดได้สารละลายอะมัลกัม
3. ปรอทช่วยให้สามารถแยกเอาผลิตภัณฑ์บางชนิดออกจากเซลล์อิเล็กโทรไลต์ได้
4. ปรอทช่วยเร่งให้เกิดปฏิกิริยาได้ โซดาไฟเร็วยิ่งขึ้น

ข้อ4 สมมติว่าในเซลล์อิเล็กโทรไลต์ที่ใช้ผลิตโซดาไฟนี้ใช้แพลทินัม (Pt)
เป็นแคโทดแทนปรอท ผลที่เกิดขึ้นควรเป็นอย่างไร
1. ปฏิกิริยาแยกสลายจะไม่เกิดขึ้น
2. จะไม่ได้โซดาไฟเป็นผลิตภัณฑ์ แต่ยังคงมีปฏิกิริยาแยกสลายเกิดขึ้น
3. ผลิตภัณฑ์ที่เกิดขึ้นที่แคโทดจะทำปฏิกิริยากับน้ำภายในเซลล์ทันที
4. จะไม่มีแก๊สคลอรีนเกิดขึ้น แต่จะได้แก๊สออกซิเจนแทน

ข้อ5 โรงงานอุตสาหกรรมใดข้างล่างนี้ที่ไม่ได้ใช้คลอรีนในกระบวนการผลิต
1. อุตสาหกรรมพลาสติก
2. อุตสาหกรรมทำกระดาษ
3. อุตสาหกรรมทำสบู่
4. อุตสาหกรรมทำผงชูรส

ข้อ 6โรงงานถลุงโลหะพลวง ลดปริมาณแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ก่อน
ปล่อยสู่บรรยากาศ ดังนี้
1) ผ่านแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปยังผงแคลเซียมออกไซด์ที่เปียก
2) ผ่านแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปยังผงแคลเซียมคาร์บอเนตที่เปียก
3) ผ่านแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ไปยังแคลเซียมคาร์บอเนตที่เผาร้อน
4) ผ่านแก๊สซัลเฟอร์ไดออกไซด์ลงในน้ำ

วิธีการใดที่เป็นการลดมลพิษ
1. 3 เท่านั้น
2. 1 และ 2 เท่านั้น
3. 1, 2 และ 3
4. ถูกทุกข้อ

ข้อ7 เกลือแกงเป็นวัตถุดิบที่สำคัญชนิดหนึ่ง ซึ่งใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมประเภทใดมากที่สุด
1. โรงงานผงชูรส
2. โรงงานโซดาไฟ
3. โรงงานน้ำตาล
4. โรงงานผงซักฟอก

ข้อ8 ข้อใดกล่าวได้ถูกต้อง
1. แทนทาลัมเป็นธาตุกึ่งโลหะสีเทา ใช้ทำอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
2. แทนทาลัมและไนโอเบียมสามารถละลายได้ใน MIBK
3. ในการสกัดแทนทาลัม สกัดโดยใช้สารละลายกรด
4. แทนทาลัมเป็นส่วนผสมในเหลักกล้าใช้ผลิตท่อส่งแก๊ส

ข้อ 9 การปรับปรุงคุณภาพเกลือสมุทรโดยการเติมปูนขาวปริมาณที่เหมาะสมลงในนาเชื้อ
แล้วจึงปล่อยน้ำเกลือเข้าไปตกผลึกในนาปลง จะได้เกลือที่มีคุณภาพดีขึ้น มีผลึกใส ไม่ชื้นง่าย
และมีปริมาณร้อยละของเกลือสูง ปูนขาวที่เติมมีบทบาทอย่างไร
1. ช่วยดูดความชื้นจากเกลือ
2. ช่วยลดปริมาณแมกนีเซียมไอออน
3. ช่วยเพิ่มปริมาณแคลเซียมไอออน
4. ช่วยฟอกสีเกลือ

ข้อ10 สารทั้งสามในข้อต่อไปนี้ต้องใช้โซเดียมคลอไรด์หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการผ่านกระแสไฟฟ้า
ลงในสารละลายโซเดียมคลอไรด์ ตัวใดตัวหนึ่ง เข้าไปเกี่ยวข้องในกระบวนการผลิต
1. ผงชูรส โซดาแอช ปุ๋ยยูเรีย
2. ผงชูรส โซดาแอช พีวีซี
3. ผงซักฟอก พีวีซี ปุ๋ยยูเรีย
4. ผงซักฟอก ปุ๋ยยูเรีย โซดาแอช


เฉลย
1.ข้อ1
2.ข้อ3
3.ข้อ4
4.ข้อ3
5.ข้อ3
6.ข้อ3
7.ข้อ2
8.ข้อ2
9.ข้อ2
10.ข้อ2

วันศุกร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Part2

Part2
1. อธิบายว่าอะไรเป็นสาเหตุให้เกิดฟ้าผ่า หลักการของประจุชนิดต่างกันทำให้เกิดฟ้าผ่าได้หรือไม่ อย่างไร

ตอบ ฟ้าผ่าเกิดจากการที่ก้อนเมฆลอยตัวไปแล้วเสียดสีกับบรรยากาศหรือเสียดสีระว่างก้อนเมฆด้วยกันทำให้เกิดการสะสมไฟฟ้าสถิตในตัวก้อนเมฆมากทำให้ก้อนเมฆมีศักดิ์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 10-100 MV เมื่อสะสมไว้มากก็เกิดความเครียดของสนามไฟฟ้าเมื่อความเครียดของสนามไฟฟ้าถึงขั้นวิกฤตก็ต้องปลดปล่อยโดยการดิสชาร์จระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกเลยเกิดเป็นฟ้าผ่า(Ground Flash)



2. อธิบายว่าแสงที่เกิดขึ้นขณะฟ้าผ่า ว่าเดินทางจากเมฆลงมายังพื้นดิน หรือจากพื้นดินขึ้นไปบนท้องฟ้า

ตอบ เกิดจากถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินเป็น ถ้ามีสิ่งกีดขวางไม่ยอมให้ประจุผ่านไปได้สะดวก เช่น ต้นไม้ บ้าน รถยนต์ คน สัตว์ต่างๆ ก็จะเกิดความร้อนและลุกไหม้เป็นอันตรายอย่างมาก หรือที่เราเรียกกันว่า ฟ้าผ่า ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าตามอาคารสูงๆ จึงมักติดสายล่อฟ้า ทำด้วยเหล็กกล้ารูปสามง่ามไว้บนยอดสุดของอาคาร เชื่อมต่อกับสายทองแดงลงมาที่พื้นดินเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้านำลงสู่พื้นดิน



3. วาด diagram แสดงอิเล็กตรอนบนก้อนเมฆ และที่พื้นดิน


Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!



4. ในระหว่างที่เกิดฟ้าผ่า นักเรียนควรปฏิบัติอย่างไรเพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดอุบัติเหตุ บอกมา 3 ประการ
ตอบ 1. ปิดโทรทัศน์ >> ถ้าฟ้าผ่าเปรี้ยงๆ ควรที่จะรีบปิดโทรทัศน์ทันทีนะจ๊ะ เพราะเสาอากาศเป็นตัวนำไฟฟ้าอย่างหนึ่ง ถ้าเสาอากาศถูกฟ้าผ่า กระแสไฟฟ้าจะไหลเข้ามาในโทรทัศน์ทำให้ระเบิดได้ ดังนั้นวิธีป้องกันสำหรับเรื่องนี้คือ ควรที่จะต่อสายดินไว้ข้างเสาอากาศเพื่อช่วยลดความเสี่ยงลงได้บ้าง แต่ทางที่ดีที่สุดควรที่จะปิดโทรทัศน์ดีกว่าจ้ะ เพื่อความปลอดภัยของตัวน้องๆ เองและทรัพย์สิน

2. ไม่อยู่ใกล้ของสูง >> ไม่ควรที่จะยืนอยู่ใกล้ต้นไม้ หรือเสาไฟฟ้า เพราะฟ้าผ่าชอบที่จะผ่าลงมายังของที่อยู่สูงๆ เช่นนี้

3. มือถือ >> ถ้าฝนตกลงมาล่ะก็ ไม่ควรที่จะใช้โทรศัพท์มือถือนะจ๊ะ เพราะว่าแผ่นโลหะ แบตเตอรี่ที่อยู่ในโทรศัพท์มือถือ เป็นตัวล่อสายฟ้าได้นะจ๊ะ ดังนั้นถ้าฝนตกน้องๆ จึงควรที่จะเก็บเจ้าเครื่องมือสื่อสารเครื่องนี้ไว้ในซองหนังหรือซองผ้าที่มิดชิดทันที


5. เพราะเหตุใดนักเรียนจึงไม่ควรอยู่ในน้ำในขณะที่เกิดฟ้าผ่า

ตอบ สภาวะที่อำนวยให้เกิดฟ้าผ่านี้ จึงมีไม่เท่ากันทุกแห่งบนโลก โดยมากจะเกิดเหนือพื้นทวีปเพราะความแตกต่างของกระแสอากาศมีสูง คืออากาศเหนือพื้นดินสามารถร้อนขึ้นได้มากจากการที่พื้นโลกดูดซับพลังงานของดวงอาทิตย์ แล้วคายออกมาสู่อากาศเหนือพื้นโดยตรง จึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่ก่อให้เกิดพายุฝน อันเป็นแหล่งกำเนิดของฟ้าผ่า และบนพื้นโลก ก็ยังมีสิ่งก่อสร้างสูงๆ ทั้งโดยธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น มากกว่าที่จะหาได้ในท้องทะเลอันราบเรียบ อัตราการเกิดฟ้าผ่าจึงมีสูงมากในภาคพื้นทวีป ส่วนเหนือพื้นน้ำนั้น เนื่องจากน้ำอมความร้อนได้ดีมากจนคายออกมาน้อยมาก อากาศเหนือพื้นจึงไม่ได้ร้อนมาก เมื่อไม่มีกระแสอากาศร้อนติดพื้น ก็ไม่ค่อยมีการก่อเมฆฝน ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการทำให้เกิดฟ้าผ่า ประชากรในประเทศเกาะในมหาสมุทร มักจะไม่เจอปรากฏการณ์ฟ้าผ่ามากเท่าใด ภาษาพูดของประชากรเหล่านี้ จึงมีศัพท์เกี่ยวกับฟ้าผ่ากันไม่มากนัก



6. ให้นักเรียนยกตัวอย่างผลของไฟฟ้าสถิตที่มีในชีวิตประจำวันมาสัก 5 ตัวอย่าง

ตอบ ในชีวิตประจำวันของเรา เราพบปรากฏการณ์ทางไฟฟ้าสถิตอยู่เสมอ เช่น ถ้าเราใช้ปกพลาสติกที่หุ้มหนังสือถูกับโต๊ะไปมาหลายๆ ครั้งแล้วนำมือเข้ามาใกล้ๆ ปกพลาสติกนี้ จะรู้สึกว่าขนเล็ก ๆ ที่มือลุกชันขึ้นได้ ซึ่งปรากฏการณ์อย่างเดียวกันนี้จะเกิดได้เมื่อเรานำมือเข้าไปใกล้จอโทรทัศน์ที่เพิ่งปิดใหม่ ๆ ในฤดูหนาวเราจะสังเกตได้ว่าเมื่อเราหวีผม เส้นผมมักจะชูตามหวีมาด้วยเสมอ คล้าย ๆ กับว่าหวีพลาสติกดูดเส้นผมออกมา ความจริงปรากฏการณ์ดังกล่าวข้างต้นมนุษย์พบมานานแล้วเท่าที่มีการบันทึกไว้เริ่มมาตั้งแต่ 600 ปีก่อนคริสตศักราชหรือราว ๆ สมัยพุทธกาลนั่นเอง


7. อธิบายว่าอิเล็กโทรสโคปสามารถใช้ตรวจสอบไฟฟ้าสถิตได้อย่างไร

ตอบ เป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจสอบประจุไฟฟ้าจำนวนน้อยๆ
8. เพราะเหตุใดจึงไม่ใช้โลหะเป็นตัวทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต

ตอบ ไฟฟ้าสถิตมันเกิดกับวัตถุที่เป็นฉนวนเท่านั้นถ้าเราทำให้อิเล็กตรอนในโลหะหรือตัวนำ หลุดออกไปได้ ... มันก็จะวิ่งไปรวมตัวเพื่อเป็นกลาง จึงไม่สามารถ "สถิต" อยู่บนตัวนำนั้นได้



9. ยกตัวอย่างประโยชน์ของไฟฟ้าสถิตมาสัก 5 ตัวอย่าง

ตอบ 1.การดูดน้ำใต้ดิน



2. เครื่องพิมพ์เลเซอร์


3. ทางด้านการแพทย์เพื่อประดิษฐ์เส้นใยนาโน

4. การทำกระดาษทราย

5. การกรองฝุ่นและเขม่าออกจากควันไฟ


10.อธิบายว่าสามารถใช้หลักการเกี่ยวกับเรื่องไฟฟ้าสถิตในการควบคุมมลพิษทางอากาศได้อย่างไร

ตอบ การควบคุมมลพิษทางอากาศ(Air Pollution Control) การเก็บฝุ่นโดยอาศัยหลักการกรอง (Filter) ด้วยเครื่องจับอนุภาคด้วยไฟฟ้าสถิต

บทความจาก ; http://bee2pay.blogspot.com/2010/08/part2.html

Part1

Part1
ให้นักเรียนสืบค้นข้อมูลใน website ต่าง ๆ เกี่ยวกับ "ฟ้าผ่า" แล้วตอบคำถามต่อไปนี้


1. อะไรคือสาเหตุที่ทำให้เกิดไฟฟ้าสถิต

** การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกัน

2. ฟ้าผ่าเกิดจากอะไร

** ฟ้าผ่าเกิดจากการที่ก้อนเมฆลอยตัวไปแล้วเสียดสีกับบรรยากาศหรือเสียดสีระว่างก้อนเมฆด้วยกันทำให้เกิดการสะสมไฟฟ้าสถิตในตัวก้อนเมฆมากทำให้ก้อนเมฆมีศักดิ์ไฟฟ้าสูงตั้งแต่ 10-100 MV เมื่อสะสมไว้มากก็เกิดความเครียดของสนามไฟฟ้าเมื่อความเครียดของสนามไฟฟ้าถึงขั้นวิกฤตก็ต้องปลดปล่อยโดยการดิสชาร์จระหว่างก้อนเมฆกับพื้นโลกเลยเกิดเป็นฟ้าผ่า(Ground Flash)

3. การเกิดฟ้าผ่าเกี่ยวข้องกับไฟฟ้าสถิตหรือไม่ อย่างไร

** การเกิดไฟฟ้าสถิต เมื่อมีวัสดุทั้งสองชนิดเป็นฉนวนที่มีการสัมผัสกันจะมีประจุบางส่วน (Electrons) ถูกถ่ายโอนจากวัสดุฉนวนชิ้นหนึ่งไปสู่วัสดุฉนวนอีกชิ้นหนึ่ง และเมื่อฉนวนทั้งสองชิ้นถูกแยกออกจากกัน ประจุดังกล่าวก็จะไม่สามารถย้อนกลับไปยังวัสดุฉนวนชิ้นเดิมได้ จึงทำให้ประจุดังกล่าวก็จะไม่สามารถเคลื่อนที่ในวัสดุฉนวนได้ ซึ่งถ้าวัสดุทั้งสองเป็นกลางแล้วก็จะเกิดประจุบวกขึ้นในวัสดุฉนวนชิ้นหนึ่งและเกิดประจุลบกับวัสดุอีกชิ้นหนึ่ง
ส่วนการเกิดฟ้าผ่า เกิดจากถ่ายเทประจุไฟฟ้าระหว่างก้อนเมฆกับพื้นดินเป็น ถ้ามีสิ่งกีดขวางไม่ยอมให้ประจุผ่านไปได้สะดวก เช่น ต้นไม้ บ้าน รถยนต์ คน สัตว์ต่างๆ ก็จะเกิดความร้อนและลุกไหม้เป็นอันตรายอย่างมาก หรือที่เราเรียกกันว่า ฟ้าผ่า ดังนั้นจึงสังเกตได้ว่าตามอาคารสูงๆ จึงมักติดสายล่อฟ้า ทำด้วยเหล็กกล้ารูปสามง่ามไว้บนยอดสุดของอาคาร เชื่อมต่อกับสายทองแดงลงมาที่พื้นดินเพื่อถ่ายเทประจุไฟฟ้านำลงสู่พื้นดิน

บทความจาก ; http://sureeponfug.blogspot.com/2010/08/part1.html

ไฟฟ้ากระแสตรง (ภาคสอง)



ขอบคุนhttp://www.youtube.com/watch?v=63i29wEPq1Y

ไฟฟ้ากระแสตรง

ไฟฟ้ากระแสตรง หมายถึง กระแสไฟฟ้าที่มีทิศทางไหลไปในทิศทางเดียวเสมอคือไหลจากขั้วบวกไปสู่ขั้วลบ (กระแสสมมุติ) กระแสจะไหลจากแหล่งกำเนิดไฟฟ้าผ่านตัวนำเข้าไปทำงานยังอุปกรณ์ไฟฟ้าแล้วไหลกลับแหล่งกำเนิดโดยไม่มีการไหลกลับขั้วจากลบไปบวก ในงานควบคุมมอเตอร์มักจะนำไฟฟ้ากระแสตรงไปใช้ในวงจรควบคุม

Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!

แหล่งจ่ายกำลังไฟฟ้ากระแสตรง

Image Hosted by !!!###$$$ 1h3R3 1m@g3H0st $$$###!!!

คือ แหล่งพลังงานไฟฟ้าที่ไม่มีการเปลี่ยนทิศทางการไหลของกระแสในช่วงการจ่าย
ตัวอย่าง เช่น แบตเตอรี่และแผงเซลล์แสงอาทิตย์ ฯลฯ

กำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้าต้องการใช้
กำลังไฟฟ้าที่อุปกรณ์ไฟฟ้ากระแสตรงใช้ คำนวณได้จาก ความต่างศักย์ไฟฟ้าหรือแรงดันไฟฟ้าและกระแสไฟฟ้าที่ใช้ไป

วงจรไฟฟ้ากระแสตรง
วงจรไฟฟ้ากระแสตรงประกอบด้วย วงจรอันดับหรืออนุกรม วงจรขนาน และวงจรผสมวงจรอันดับ หรือ อนุกรม

วงจรอันดับ เป็นวงจรที่ต่อตัวต้านทานแบบอนุกรมหรืออันดับโดยเอาปลายด้านหนึ่งต่อกับอีกปลายด้านหนึ่งไปเรื่อยๆ สรุปผลที่ได้จากการต่อวงจรแบบอันดับ
1. ความต้านทานรวมของวงจรเท่ากับค่าของความต้านทานย่อยทั้งหมดรวมกัน
2. กระแสที่ไหลในวงจรเท่ากันตลอดหรือกระแสที่ไหลผ่านจุด
แต่ละจุดในวงจรมีค่าเดียวกัน
3. แรงดันที่ตกคร่อมตัวต้านทานแต่ละตัวรวมกันเท่ากับแรงดันไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร

วงจรขนาน

วงจรขนาน เป็นวงจรที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านปลายทางหรือตั้งแต่ 2 ทางขึ้นไปจนครบวงจร
สรุปผลที่ได้จากการต่อวงจรแบบขนาน
1. แรงดันไฟฟ้าตกคร่อมที่มาจากวงจรย่อยเท่ากับแรงดันไฟฟ้าของแหล่งจ่ายนั่นเอง
เพราะว่าความต้านทานแต่ละตัวต่างก็ขนานกับแหล่งกำเนิด
2. กระไฟฟ้ารวมในวงจรขนานเท่ากับกระแสไฟฟ้าทั้งหมดรวมกัน
3. ความต้านทานรวมของวงจรขนานจะมีค่าน้อยกว่าหรือเท่ากับตัวต้านทานที่มีค่าน้อยที่สุดในวงจร

วงจรผสม
วงจรผสม หมายถึง การต่อวงจรทั้งแบบอนุกรมและขนานเข้าไปในวงจรเดียวกัน เช่นตัวต้านทานตัวหนึ่งต่ออนุกรมกับตัว

วันอังคารที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ไฟฟ้าสถิต

ไฟฟ้าสถิต (Static electricity)
ไฟฟ้าสถิต (Static electricity) เป็นปรากฏการณ์ที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากัน ปกติจะแสดงในรูปการดึงดูด, การผลักกัน และเกิดประกายไฟ
การเกิดไฟฟ้าสถิต การที่ปริมาณประจุไฟฟ้าขั้วบวกและขั้วลบบนผิววัสดุมีไม่เท่ากันทำให้เกิดแรงดึงดูดเมื่อวัตถุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุต่างชนิดกัน หรือเกิดแรงผลักกันเมื่อวัสดุทั้ง 2 ชิ้นมีประจุชนิดเดียวกัน เราสามารถสร้างไฟฟ้าสถิตโดยการนำผิวสัมผัสของวัสดุ 2 ชิ้นมาขัดสีกัน พลังงานที่เกิดจากการขัดสีกันทำให้ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุจะเกิดการแลกเปลี่ยนกัน โดยจะเกิดกับวัสดุประเภทที่ไม่นำไฟฟ้า หรือที่เรียกว่า ฉนวน ตัวอย่างเช่น ยาง, พลาสติก และแก้ว สำหรับวัสดุประเภทที่นำไฟฟ้านั้นโอกาสเกิดปรากฏการณ์ประจุไฟฟ้าบนผิววัสดุไม่เท่ากันนั้นยากแต่ก็สามารถเกิดขึ้นได้ เช่น กรณีที่ผิวโลหะถูกกระแทกด้วยของแข็งหรือของเหลวที่ไม่เป็นตัวนำ ประจุที่เกิดการเคลื่อนย้ายระหว่างการสัมผัสจะถูกเก็บบนผิวของวัสดุทั้ง 2 ชิ้น
ไฟฟ้าสถิตเป็นปรากฏการณ์ธรรมชาติที่คุ้นเคยสำหรับประเทศที่มีอากาศหนาว ในฤดูหนาวสำหรับประเทศเหล่านี้ความชื้นในอากาศจะต่ำมาก การเกิดไฟฟ้าสถิตบนผิวหนังจะเกิดขึ้นง่ายมาก ดังนั้นเมื่อเกิดการสัมผัสกับวัสดุประเภทตัวนำจะทำให้เกิดการถ่ายเทประจุไปยังตัวนำอย่างรวดเร็วทำให้เกิดอาการสะดุ้งได้ และนอกจากนั้นยังสามารถทำความเสียหายให้กับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
วิชาไฟฟ้าสถิต
วิชาไฟฟ้าสถิต คือความรู้ที่เกี่ยวข้องกับปรากฎการณ์อันเกิดจากประจุไฟฟ้าที่อยู่นิ่ง
แรงระหว่างประจุไฟฟ้า เป็นแรงมูลฐานที่เกิดขึ้นในธรรมชาติ เช่นเดียวกับแรงดึงดูดระหว่างมวล แรงแม่เหล็ก และ แรงนิวเคลียร์ กฎว่าด้วยแรงระหว่างประจุไฟฟ้า ประจุชนิดเดียวกัน ผลักกัน ประจุต่างชนิด ดึงดูดกัน แรงผลักหรือแรงดูดระหว่างประจุ เป็นแรงคู่กริยา
ตัวนำไฟฟ้า คือสารที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าถ่ายเทไป – มาได้โดยง่ายทั่วถึงกันทั้งก้อน
ฉนวนไฟฟ้า คือสารที่ยอมให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนผ่านได้เพียงเล็กน้อย
สารกึ่งตัวนำ คือสารที่มีสมบัติทางไฟฟ้าอยู่ในระหว่างตัวนำไฟฟ้ากับฉนวนไฟฟ้า
การทำให้วัตถุมีประจุ ปกติวัตถุทั้งหลายมีโปรตอนและอิเล็กตรอนเป็นองค์ประกอบในจำนวนที่เท่าๆ กัน ดังนั้นจำนวนประจุบวก ประจุลบ ในวัตถุจึงมีอยู่เท่ากัน เรียกวัตถุอยู่ในสภาพเป็นกลางทางไฟฟ้า
กรณีที่วัตถุได้รับพลังงาน ( ไฟฟ้า เคมี ความร้อน แสง และอื่นๆ ) จะทำให้อิเล็กตรอน หรือ อิออนเคลื่อนที่ ประจุลบบนวัตถุนั้นอาจมีมากกว่า หรือน้อยกว่าประจุบวก ถ้ามีมากกว่าวัตถุดังกล่าวมีประจุลบอิสระ ถ้ามีน้อยกว่าวัตถุดังกล่าวมีประจุบวกอิสระ
การกระจายของประจุ
บนฉนวน ประจุปรากฎเฉพาะบางส่วน เพราะประจุเคลื่อนที่ผ่านฉนวนได้ยาก
บนตัวนำ ประจุกระจายแต่เฉพาะผิวนอกของตัวนำ * ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่บริเวณปลายแหลมหรือขอบ มีมากกว่าบริเวณผิวราบเรียบ ในกรณี ตัวนำทรงกลม ประจุกระจายทั่วถึงกัน ความหนาแน่นประจุสม่ำเสมอ
ให้ Q = ปริมาณประจุไฟฟ้าอิสระบนทรงกลม หน่วยคูลอมบ์ R = รัศมีทรงกลม หน่วยเมตร D = ความหนาแน่นประจุต่อพื้นที่ผิวของตัวนำทรงกลม หน่วยคูลอมบ์ต่อตารางเมตร ตัวอย่างเช่น ตัวนำทรงกลมรัศมี 1.0 เซนติเมตร ได้รับอิเล็กตรอน 103 อนุภาค หากไม่มีการรั่วไหลของประจุ ความหนาแน่นของประจุต่อพื้นที่ = 1.3x10-13 คูลอมบ์ต่อตารางเมตร
ขอขอบคุณสาระดีดี จาก

โดย :ฟากฟ้าทะเลฝัน (ทีมงาน TeeNee.Com) โพสเมื่อ [ วันพุธ ที่ 19 มีนาคม 2551 เวลา 16:58 น.]






ขอบคุณสาระดีๆ http://www.youtube.com/